Posts List

Health

  • แพ้ยุง จะรับมือและรักษาอาการเบื้องต้นได้อย่างไร
    แพ้ยุง จะรับมือและรักษาอาการเบื้องต้นได้อย่างไร

    แพ้ยุง เป็นอาการเมื่อถูกยุงกัดบริเวณผิวหนังจะเกิดตุ่มนูน บวมแดงมาก มีอาการคันบริเวณนั้นมากกว่าปกติ และมักเกิดหลังถูกยุงกัดภายในเวลาไม่นาน และมีตุ่มใสบวมแดงขึ้นบนผิวหนังนานเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย สามารถรักษาเองได้เบื้องต้น หากแพ้ยุงหนักและมีอาการข้างเคียงให้รีบไปพบแพทย์

    แพ้ยุง มีอาการอย่างไร

    อาการแพ้ยุง หรือผื่นแพ้ยุง (Mosquito Allergy, Skeeter Syndrome) เกิดจากผิวหนังอักเสบจากการแพ้สารก่อน้ำลายของยุง ที่เข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งโปรตีนที่อยู่ในน้ำลายของยุงจะถูกปล่อยลงไปในเลือด ทำให้เลือดไม่เป็นก้อน และยุงสามารถดูดเลือดได้ง่าย เป็นสาเหตุทำให้เกิดผื่นแพ้ยุงได้

    อาการแพ้ยุงนั้นค่อนข้างแตกต่างจากอาการทั่วไปจากการถูกยุงกัดอย่างเห็นได้ชัด เมื่อคนทั่วไปถูกยุงกัดมักจะเกิดตุ่มแดงคันขนาดเล็กไม่เกิน 2 เซนติเมตรตามผิวหนัง ซึ่งไม่ร้ายแรงและอาการมักหายเองโดยไม่ต้องรักษา แต่คนที่มีอาการแพ้ยุงจะพบอาการต่อไปนี้หลังถูกยุงกัด

    • อาการคล้ายกับการติดเชื้อ อย่างเป็นไข้และต่อมน้ำเหลืองบวมโต
    • คันตามผิวหนัง ผิวหนังบวมอย่างรุนแรงคล้ายกับการถูกสัตว์หรือแมลงมีพิษต่อย โดยอาจพบอาการบวมตามผิวหนังบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นวงกว้าง ขนาดตั้งแต่ 2–10 เซนติเมตรภายใน 1 ชั่วโมงหลังถูกกัดและอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือเกิดอาการบวมทั่วร่างกาย หากพบสัญญาณของอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
    • ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) หรือภาวะแพ้อย่างรุนแรง แม้จะพบได้น้อย แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากพบอาการลมพิษ คอบวม ริมฝีปากบวม หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงหวีดแหลม เวียนหัว และคล้ายจะเป็นลม หรืออาการรุนแรงอื่นๆ ควรไปพบแพทย์ทันทีเช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ อาการแพ้ยุงอาจเป็นอันตรายมากขึ้นเมื่อเกิดในทารก เด็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

    จากอาการข้างต้นบางคนอาจสับสนหรือเข้าใจผิดระหว่างอาการแพ้ยุงและภาวะผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย (Cellulitis) เพราะบางอาการอาจดูคล้ายกันจนทำให้สับสนได้ แต่ภาวะผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดหนอง ผิวอุ่นเมื่อสัมผัส เป็นไข้ และหนาวสั่น

    หากถูกยุงกัดแล้วพบอาการผิดปกตินอกเหนือจากตุ่มแดงตามผิวหนังและอาการคันที่ไม่รุนแรง อาการค่อย ๆ รุนแรงขึ้น หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพราะอาการแพ้ยุงและภาวะผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรียนั้นมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน

    การรับมืออาการแพ้

    วิธีรับมือกับอาการแพ้ยุงอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและความเหมาะสมดังนี้

    • ปฐมพยาบาล

    แม้จะเป็นเพียงการถูกยุงกัด แต่คนที่แพ้ยุงก็อาจเสี่ยงต่ออันตรายได้ หากถูกยุงกัดควรทำความสะอาดผิวหนังในจุดที่ถูกกัดด้วยน้ำและสบู่ ซับให้แห้ง จากนั้นบรรเทาอาการบวมและคันด้วยการประคบเย็น โดยสามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาด ผ้าห่อถุงน้ำแข็ง หรือขวดน้ำเย็นประคบตรงที่ถูกกัดประมาณ 10 นาที

    หากบ้านไหนมีเบกกิ้งโซดา (Baking Soda) สามารถเตรียมเบกกิ้งโซดาใส่ถ้วยไว้เล็กน้อย จากนั้นหยดน้ำลงไปเล็กน้อย กวนให้จับตัวกันแล้วใช้พอกบริเวณที่ถูกยุงกัด ทิ้งไว้ 10 นาที ค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด

    • ใช้ยาแก้แพ้สำหรับอาการแพ้ไม่รุนแรงหรือรุนแรงปานกลาง

    ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamines) ซึ่งจะหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารที่แพ้ ในกรณีนี้คือสารบางอย่างจากน้ำลายของยุงที่เข้าสู่ร่างกายผ่านการกัดทำให้เกิดอาการแพ้

    คนที่ทราบว่าตนเองมีอาการแพ้ยุง ควรพกยาแก้แพ้ติดตัวไว้เสมอ โดยสอบถามแพทย์และเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย หากต้องทำกิจกรรมหรือเข้าไปในที่ที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัด อย่างการเข้าค่าย การเดินป่าหรือพื้นที่ที่อาจมียุงชุก ควรมียาแก้แพ้ติดไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยาแก้แพ้สามารถบรรเทาได้เพียงอาการแพ้ที่ไม่รุนแรงหรือรุนแรงปานกลาง อย่างผื่นแดงคันและอาการบวมเล็กน้อยจากการถูกยุงกัดเท่านั้น หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือพบสัญญาณของปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง ควรไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

    • ไม่ควรเการอยที่ถูกยุงกัด

    การเกาตรงตำแหน่งที่ถูกยุงกัดจะกระตุ้นให้อาการคันและการอักเสบรุนแรงขึ้น อีกทั้งการเกาอาจทำให้เกิดรอยแผลขนาดเล็กบนผิวหนัง ทำให้เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้น โดยเฉพาะการเกาแผลหรือรอยยุงกัดโดยไม่ได้ล้างมือให้สะอาด

    แพ้ยุง

    วิธีลดความเสี่ยงถูกยุงกัด

    มีหลายวิธีที่ช่วยป้องกันการถูกยุงกัด เช่น

    1. สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่มีสีอ่อน
    2. ทำความสะอาดภายในและนอกตัวบ้านเสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำขัง อย่างพื้นดิน ถังขยะ หรือภาชนะที่วางไว้นอกตัวบ้าน เนื่องจากยุงแพร่พันธุ์วางไข่ในน้ำ
    3. ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ คว่ำถังและกะละมังที่ไม่ใช่งาน รวมทั้งหยดน้ำส้มสายชูหรือทรายอะเบทตามแจกันดอกไม้ ขารองตู้กับข้าว หรือภาชนะอื่นที่มีน้ำภายในบ้าน
    4. เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเสมอ
    5. กางมุ้งขณะนอนหลับ โดยเฉพาะเวลากลางวัน
    6. ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท หรือติดมุ้งลวดกันยุง
    7. ทายาหรือโลชั่นกันยุงที่ปลอดภัยต่อผิวหนัง แต่ผู้ปกครองควรระมัดระวังเมื่อต้องทาให้ทารก

    ปรึกษาแพทย์

    หากคาดว่าตนเองหรือเด็กในบ้านอาจมีอาการแพ้ยุง หรืออาการจากการถูกยุงกัดส่งผลต่อการใช้ชีวิตสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้ สำหรับคนที่มีประวัติแพ้ยุงอย่างรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) ในรูปแบบของปากกาเข็มฉีดยา พร้อมแนะนำวิธีใช้เมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรงหรือปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงขึ้น ซึ่งหากแพทย์สั่งจ่ายยาดังกล่าวก็ควรพกติดตัวไว้เสมอ

    สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากการถูกยุงกัดได้หลายวิธี ยิ่งเป็นคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ป่า และพื้นที่ธรรมชาติที่อาจมีความเสี่ยงจากการถูกยุงกัดได้มากกว่า ควรต้องดูแลตนเองให้มากขึ้น เพราะนอกจากอาการไม่พึงประสงค์จากการถูกยุงกัดและอาการแพ้ยุง การถูกยุงกัดอาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อ อย่างโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียได้

    วิธีรักษาและการดูแลตัวเองจากอาการแพ้ยุงเบื้องต้น

    การรักษาอาการแพ้ยุงมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล

    • วิธี 1 หากถูกยุงกัดควรทำความสะอาดผิวหนังในจุดที่ถูกกัดด้วยน้ำและสบู่ ซับให้แห้ง จากนั้นประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวมโดยประคบตรงที่ถูกกัดประมาณ 10 นาที
    • วิธี 2 ใช้ยาแก้แพ้ สำหรับผู้ที่แพ้ยุงที่มีอาการไม่รุนแรง ยาแก้แพ้จะช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamines) ซึ่งจะหลั่งออกมามากขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารที่แพ้ ในกรณีนี้คือสารบางอย่างจากน้ำลายของยุงที่เข้าสู่ร่างกายผ่านการกัดทำให้เกิดอาการแพ้ สามารถช่วยบรรเทาอาการผื่นแดงคันและอาการบวมเล็กน้อยได้เท่านั้น หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที
    • วิธี 3 ห้ามเกาบริเวณรอยที่ถูกยุงกัด เพราะเป็นการกระตุ้นให้อาการคันและการอักเสบบนผิวหนังเป็นมากขึ้น และยังทำให้ผิวบริเวณที่ถูกยุงกัดเกิดรอยแผลขนาดเล็กขึ้นด้วย
    • วิธี 4 หากเป็นผื่นบริเวณกว้าง คันมาก หรือมีอาการอักเสบของผิวหนัง แนะนำปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมในการรักษา เช่น ยาแก้แพ้ หรือ ยาทาภายนอก เพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนังโดยสามารถใช้ครีมบำรุงผิวอย่าง Eucerin OMEGA BALM บาล์มบำรุงผิวกายที่สามารถใช้ได้ทุกวันสำหรับผู้มีปัญหาผิวแห้ง แดง คัน ช่วยบรรเทาอาการคัน ลดการระคายเคืองช่วยคืนความชุ่มชื่น เสริมเกราะป้องกันให้ผิวแข็งแรงขึ้น สามารถใช้ได้แม้ผิวบอบบางของเด็กทารก

    5 โรคอันตรายจากยุง

    1. ไข้เลือดออก

    พาหะ : ยุงลาย ที่ออกหากินตอนกลางวัน (ปัจจุบันพบยุงลายตอนกลางคืน ช่วงโพล้เพล้อยู่บ้าง)

    อาการ : หลังถูกยุงลายกัด 5-8 วัน จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร หรืออาจอาเจียน มีผื่นแดงๆ ตามร่างกาย อาจเลือดออกง่าย ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ช็อก ชัก บวม แน่นหน้าอก ปวดท้อง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน

    2. มาลาเรีย

    พาหะ : ยุงก้นปล่อง พบได้มากในป่า พื้นที่รกๆ อากาศร้อนชื้น แหล่งน้ำต่างๆ หรือพื้นที่อื่นๆ ทั่วไป

    อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หน้าซีดปากซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เริ่มเข้าสู่ภาวะโลหิตจาง ตัวเหลืองเหมือนดีซ่าน และอาจมีปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีน้ำปลา

    3. เท้าช้าง

    พาหะ : โรคเกิดจากพยาธิตัวกลม โดยมียุงเป็นพาหะ

    อาการ : มีไข้สูงเฉียบพลัน หลอดน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยอาจพบได้บริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อน้ำเชื้ออสุจิ หรือเต้านม ผิวหนังบริเวณที่อับเสบจะบวมแดง มีน้ำเหลืองคั่ง คลำเป็นก้อนขรุขระ แต่ในบางรายอาจไม่แสดงอาการบวมชัดเจน

    4.ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า)

    พาหะ : ยุงลาย

    อาการ : อาการคล้ายไข้เลือดออกมาก แต่ไม่พบการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการช็อก

    5. ไข้สมองอักเสบ

    พาหะ : ยุงรำคาญ พบในนาข้าว เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ และมีหมูเป็นรังของโรค โดยยุงรำคาญไปกัดหมูที่เป็นโรค และแพร่เชื้อต่อสู่คน และสัตว์อื่นๆ

    อาการ :  หลังรับเชื้อ 5-15 วัน จะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น คอแข็ง สติสัมปชัญญะลดลง ซึม หรือ เพ้อ คลั่ง ชัก หมดสติ หรืออาจมือสั่น เป็นอัมพาต ซึ่งหลังจากอาการของโรคหายไป อาจหลงเหลือความผิดปกติของสมองอยู่บ้าง เช่น พูดไม่ชัด เกร็ง ชัก หรือสติไม่ค่อยปกติ

     

    สำหรับใครที่มีอาการแพ้ยุงควรป้องกันและลดความเสี่ยงจากการถูกยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงจากสถานที่ซึ่งเป็นอยู่อาศัยของยุง เช่น แหล่งน้ำ หรือพื้นที่ธรรมชาติ ควรดูแลตนเองให้มากขึ้นด้วยการพกยาแก้แพ้ สเปรย์ป้องกันยุง รวมทั้งหาครีมที่ช่วยบรรเทาอาการคัน หรือผื่นแพ้จากยุง ซึ่งช่วยลดสาเหตุการเกิดผื่นแพ้ยุงได้

     

    เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

     

    ที่มาของบทความ

     

    ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  thaiinterblock.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง คดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
    ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง คดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

    ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษา คดีบีทีเอสซีฟ้องล้มการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ การยกเลิกเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระหว่างรัฐและเอกชน

    ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นและพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

    กรณีมีมติการประชุม เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 3 ก.ค. 2563 และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ดังกล่าว

    ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าการยกเลิกประกาศเชิญชวนและการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนมิได้เป็นไปโดยอำเภอใจ และการยกเลิกเป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ระหว่างรัฐและเอกชน ตาม ม.6 พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

    ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาเพิกถอนมติของคณะกรรมการฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ รวมถึงเพิกถอนประกาศของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าวของวัน 3 ก.พ. 2563 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติ นั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

    ที่มา workpointtoday

    ติดตามอ่าานข่าวเศรษฐกิจได้ที่ thaiinterblock.com